หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่าน X (ทวิตเตอร์) เมื่อคืนที่ผ่านมา เรียกร้องคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เรียกประชุมเป็นการเร่งด่วน (กนง.นัดพิเศษ) เพื่อพิจารณาการลดดอกเบี้ย โดยไม่ต้องคอยถึงการประชุมตามกำหนด
หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาจากการรายงานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ บ่งบอกถึงสถานะของเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในภาวะ Critical stage ซึ่งเลขาธิการสภาพัฒน์เอง ก็เห็นด้วยกับการที่ควรต้องปรับลดดอกเบี้ย
เศรษฐา อิงตัวเลข สศช. ชี้ เศรษฐกิจวิกฤตจี้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย
สภาพัฒน์จี้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ช่วยลดภาระคนเป็นหนี้
พีพีทีวี พบข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการประชุม กนง.เพื่อพิจารณานโยบายการเงินปีละ 6 ครั้ง โดยประกาศตารางการประชุมล่วงหน้าในแต่ละปี และ กนง. สามารถประชุมนัดพิเศษเพิ่มเติมได้หากจำเป็นโดยตั้งแต่ปี 2543 ที่มีการประชุม กนง.มาจนถึงปัจจุบัน ปี 2567 หรือ 24 ปี กนง.มีการประชุมนัดพิเศษเพียง 3 ครั้ง คือ
- ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2545 กนง.นัดพิเศษ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 % เนื่องจากผลกระทบจากการเกิดสงครามระหว่างสหรัฐฯและอิรัก
- ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2546 กนง.นัดพิเศษ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% หลังจากที่เศรษฐกิจไทย ภาคธุรกจท่องเที่ยวและโรงแรมได้รับผลกระทบรุนแรงจากโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)
- ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2563 กนง.นัดพิเศษ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและกลไกการทำงานของตลาดการเงิน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการประชุมกนง.นัดพิเศษทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาเกิดขึ้นเพราะ เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ทั้งจากสงครามระหว่างสหรัฐฯและอิรัก การระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) และ การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ต้องปิดประเทศไประยะหนึ่ง และ กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก
ส่วนกำหนดการประชุม กนง.ในปี 2567 มีการประชุมทั้งสิ้น 6 ครั้ง คือ พุธที่ 7 ก.พ. 2567 พุธที่ 10 เม.ย. 2567 พุธที่ 12 มิ.ย. 2567 พุธที่ 21 ส.ค. 2567 พุธที่ 16 ต.ค. 2567 และ พุธที่ 18 ธ.ค. 2567
โดยการประชุม กนง. ครั้งที่ 8/2564 วันที่ 22 ธันวาคม 2564 มีมติให้ปรับจำนวนการประชุม กนง. เป็น 6 ครั้งต่อปี (ทุก 7-10 สัปดาห์ ) จากเดิม 8 ครั้งต่อปี (ทุก 6-8 สัปดาห์ ) โดยให้เหตุผลว่าข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากในช่วงสั้น ๆ หากมีข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้การวิเคราะห์มีคุณภาพมากขึ้น และช่วยให้สามารถมองข้ามความผันผวนที่มาจากข้อมูลในระยะสั้น
การประชุมบ่อยครั้งอาจกระทบการคาดการณ์ของตลาดการเงินโดยไม่จำเป็น ความถี่ที่ลดลงจะช่วยให้ตลาดการเงินสามารถคาดการณ์ทิศทางนโยบายได้ชัดเจนขึ้น และเป็นการสะท้อนถึงขีดจำกัดของนโยบายที่ไม่อาจปรับแต่งภาวะเศรษฐกิจได้อย่างละเอียดใกล้ชิด (limited ability to fine-tune) และ บริหารเวลาและทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นไปที่การวิเคราะห์เชิงลึก (in-depth analysis) เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบาย
และเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารกลางในต่างประเทศ พบว่ามีทิศทางปรับลดจำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศเศรษฐกิจหลักปรับลด การประชุมเหลือปีละ 8 ครั้ง เช่น EU ลดจาก 12 เหลือ 8 ครั้ง อังกฤษ ลดจาก 12 เหลือ 8 ครั้ง ญี่ปุ่น ลดจาก 14 เหลือ 8 ครั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะที่ ธนาคารกลางหลายประเทศ ประชุมน้อยกว่าปีละ 8 ครั้ง เช่น นิวซีแลนด์ลดจาก 8 เหลือ 7 ครั้ง มาเลเซีย ลดจาก 8 เหลือ 6 ครั้ง สวีเดน ลดจาก 6 เหลือ 5 ครั้ง บางประเทศประชุมน้อยครั้งอยู่แล้ว เช่น สิงคโปร์ ประชุม 2 ครั้ง ไต้หวัน ประชุม 4ครั้ง และ สวิตเซอร์แลนด์ 4 ครั้ง
ที่มาข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย
บ.ดอยแม่สลอง ออกประกาศหลัง "มอส ละครคุณธรรม" ถูกสืบนครบาลจับกุม
หลายฝ่ายจับพิรุธ หลังรัสเซียไม่คืนร่าง “นาวาลนี"
สามี รับสารภาพใช้หินทุบหัว “น้องนุ่น” นำศพไปทิ้งที่ปราจีนบุรี